ที่มาของนวัตกรรม
แผลกดทับ (Pressure sore) เป็นหนึ่งในปัญหาเรื้อรังที่พบได้บ่อยในผู้ที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวไปมาได้ด้วยตนเอง มีข้อจำกัดในการเคลื่อนไหว และมีกิจกรรมลดลง โดยเฉพาะผู้สูงอายุ เนื่องจากเป็นวัยที่มีการเสื่อมถอยของร่างกายในด้านต่างๆ ตำแหน่งที่พบแผลกดทับมากที่สุดคือบริเวณก้นกบ (วิจิตร ศรีสุพรรณ,2556) แผลกดทับเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ เช่น อาการปวด คุณภาพชีวิตลดลง ระยะเวลารักษาตัวในโรงพยาบาลนานขึ้น ค่ารักษาพยาบาลสูง อัตราตายเพิ่มขึ้น บุคลากรผู้ดูแลมีภาระงานเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งยังเป็นภาระการดูแล และค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นในครอบครัว (วิจิตร ศรีสุพรรณ,2556) ดังนั้นในผู้ป่วยที่มีแผลกดทับ การป้องกันการเพิ่มระดับของแผลกดทับที่รุนแรงยิ่งขึ้นเป็นสิ่งที่สำคัญ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยสำคัญ 3 ประการ ได้แก่ 1) ชนิดและจำนวนของเชื้อโรค 2) ภาวะภูมิต้านทานของร่างกาย และ 3) สิ่งแวดล้อมรอบแผล (วิจิตร ศรีสุพรรณ, 2556) และจากการศึกษาพบว่า การส่งเสริมกระบวนการหายของแผล ประกอบด้วยการทำให้แผลอยู่นิ่ง และการทำแผล (Wound dressing) โดยการปิดแผลเพื่อป้องกันอันตรายหรือการปนเปื้อน ทั้งนี้ควรทำให้แผลชุ่มชื้น รวมทั้งทำให้สิ่งแวดล้อมของแผลเหมาะสำหรับการสมานแผลซึ่งจะมีผลทำให้การสร้างเนื้อเยื่อบุผิวเร็วขึ้นเป็น 2 เท่า และยังไม่ก่อให้เกิดการตกสะเก็ดที่หนา หรือมีร่องรอยแผลเป็น (รุ่งทิวา ชอบชื่น, 2556)
จากข้อมูลเดือนกุมภาพันธ์ 2560 ของหอผู้ป่วยอายุรกรรมชาย 1 พบผู้ป่วยที่มีแผลกดทับบริเวณก้นกบตั้งแต่เกรด2ขึ้นไป จำนวน 5 ราย แต่ละรายได้รับการทำแผลโดยเฉลี่ย 2 ครั้ง/ วัน คิดเป็นค่าใช้จ่ายประมาณ 540 บาท/วัน ซึ่งแผลกดทับบริเวณก้นกบเป็นตำแหน่งที่มีโอกาสปนเปื้อนอุจจาระมาก ขณะเดียวกันวัสดุการทำแผลในปัจจุบันต้องการเน้นให้มีการแลกเปลี่ยนออกซิเจน เพื่อส่งเสริมกระบวนการหายของแผล แต่แผลที่เปียกชื้นและ/ หรือปนเปื้อนปัสสาวะและอุจจาระ ย่อมเสี่ยงต่อการติดเชื้อของแผล พยาบาลจึงจำเป็นต้องทำแผลบริเวณดังกล่าวบ่อยขึ้น ซึ่งการทำแผลแต่ละครั้ง คือเพิ่มการเช็ดถูบาดแผล และทำให้อุณหภูมิของแผลลดลง จึงรบกวนกระบวนการหายของแผล (รุ่งทิวา ชอบชื่น,2556 ) รวมทั้งทำให้ผู้ป่วยปวด ไม่สุขสบาย และเพิ่มค่าใช้จ่าย
ทางผู้จัดทำนวัตกรรมตระหนักถึงผลกระทบดังกล่าว จึงต้องการที่จะเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการส่งเสริมการหายของแผลกดทับโดยทำให้แผลอยู่นิ่ง ไม่ต้องเปลี่ยนบ่อยครั้ง จึงสร้างนวัตกรรม “3P : Protection Pressure sore Paper ’’
วัตถุประสงค์
1. เพื่อป้องกันความเปียกชื้น ลดการปนเปื้อนของปัสสาวะอุจจาระมายังแผลกดทับบริเวณก้นกบ
2. เพื่อลดการรบกวนกระบวนการหายของแผลจากการทำแผลกดทับบ่อยครั้ง
3. เพื่อลดค่าใช้จ่ายของผู้ป่วย ครอบครัวและโรงพยาบาล
4. เพื่อลดภาระงานในด้านการทำแผลกดทับของบุคลากร
กลุ่มเป้าหมาย
ผู้ป่วยที่มีแผลกดทับบริเวณก้นกบตั้งแต่เกรด 2 เป็นต้นไป
ลักษณะของนวัตกรรม
“3P : Protection Pressure sore Paper” เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่คิดค้นขึ้นใหม่ วัสดุที่ใช้ทำมาจากกระดาษอาบมันด้านหนึ่ง นำมากั้นระหว่างแผลกดทับบริเวณก้นกบและทวารหนัก ใช้ประโยชน์ในการป้องกันแผลกดทับปนเปื้อนอุจจาระ เป็นอุปกรณ์ที่ทำง่าย ต้นทุนต่ำ ใช้สะดวก มีน้ำหนักเบา สามารถกันน้ำได้ และสามารถทำให้ปลอดเชื้อด้วยการอบแก๊สได้
- Teacher: อังคณา บ่มเกลี้ยง
ชื่อโครงการ Art Therapy เพื่อลดความเครียดในกลุ่มผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ทำ Hemodialysis และCAPD
ผู้รับผิดชอบ นางสาวพรรณิกา กล่อมน้อย
หน่วยงานที่รับผิดชอบ หอผู้ป่วยเพชรรัตน์ 12 B
ปีงบประมาณ ปี 2561
1. หลักการและเหตุผล
ในปัจจุบันความเครียด ความวิตกกังวลนับเป็นปัญหาหนึ่งที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสังคม ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ถ้าหากการเงินไม่เพียงพอสำหรับค่าใช้จ่ายเรื่องการรักษา เรื่องนี้ย่อมส่งผลต่อ อารมณ์ ความเครียดต่อตัวผู้ป่วยเองและคนในครอบครัวซึ่งในแต่ละบุคคลจะมีความเครียดที่มีความแตกต่างกันไป เมื่อเกิดความเครียดขึ้นแล้วสิ่งที่สำคัญและจำเป็นที่สุดคือจะการทำอย่างไรให้ความเครียดเหล่านั้นหมดไปหรือบรรเทาลงเพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด ซึ่งทางหอผู้ป่วยเพชรรัตน์ 12 B เป็นหอผู้ป่วยสามัญรับผู้ป่วยจำนวน 30 เตียงให้บริการดูแลรักษาผู้ป่วยเพศชายที่มารับบริการรักษาในโรงพยาบาลด้วยโรคทางอายุรกรรม ทั้งกลุ่มโรคที่หายขาดและกลุ่มโรคเรื้อรังที่ต้องดูแลรักษาใกล้ชิดอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการดูแลผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ทำ Hemodialysis และ CAPD ซึ่งส่วนใหญ่จะต้องพักรักษาอาการเจ็บป่วยเป็นเวลานานและเสียค่าใช้จ่ายในการล้างไตแต่ล่ะครั้งตลอดระยะเวลาที่นอนรพ
ดังนั้นทางหอผู้ป่วยเพชรรัตน์ 12 B จึงเล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหานี้จึงคิดทำโครงการArt therapy ขึ้นมาเพื่อนำศิลปะมาใช้ในการลดความเครียดหรือผู้ป่วยที่มีปัญหาทางด้านอารมณ์และจิตใจ ได้ระบายปัญหา ความคับข้องใจผ่านออกมาทางงานศิลปะเพื่อผู้ป่วยจะได้รู้สึกผ่อนคลายลดความขุ่นมัวในจิตใจ เข้าใจและรับรู้อารมณ์ต่าง ๆ ของตนเอง สามารถยับยั้งและควบคุมอารมณ์ได้ดีขึ้น มีสมาธิ ลดความตึงเครียดความวิตกกังวลลงได้
2. วัตถุประสงค์
2.1 เพื่อให้ผู้ป่วยได้แสดงความรู้สึกนึกคิดต่างๆ ออกมาเป็นภาพเรื่องราว
2.2 เพื่อให้ผู้ป่วยมีความเพลินเพลิด และรู้สึกผ่อนคลายความวิตกกังวล
2.3 เพื่อเป็นการสร้างสัมพันธภาพอันดีระหว่างผู้ป่วยและบุคลากรทางการพยาบาล
2.4 เพื่อให้เกิดความพึงพอใจต่อการรับบริการผู้ป่วยใน
3. เป้าหมาย
กลุ่มผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ทำ Hemodialysis และ CAPD
4. ตัวชี้วัด
1. อัตราความเครียดของกลุ่มผู้ป่วยไตวายเรื้อรังหลังทำกิจกรรมลดลง 10%
2. อัตราความพึงพอใจของผู้ป่วยต่อการใช้ศิลปะเพื่อการเยี่ยวยา > 80%
5. ลักษณะโครงการ
โครงการ Art therapy เป็นโครงการที่นำเอาแนวคิดของศิลปะบำบัดมาใช้โดยเริ่มจาก
การโน้มน้าวผู้ป่วยให้เข้าร่วมกิจกรรม ให้ผู้ป่วยได้แสดงความคิดและความรู้สึกออกทางผลงานศิลปะ เช่น การวาดภาพ การวาดเส้น การระบายสี แล้วนำผลงานศิลปะดังกล่าวมาวิเคราะห์ให้เห็นถึงความรู้สึกนึกคิดโดย การสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมและการให้ผู้ป่วยได้แสดงความคิดเห็น เพื่อให้ผู้ป่วยผ่อนคลายจากความวิตกกังวลจากการเจ็บป่วยหรือการนอนโรงพยาบาลนานๆ ได้เพลิดเพลินใน
การทำกิจกรรม เกิดความ พึงพอใจต่อการรับบริการ ได้ตอบสนองความต้องการของผู้ป่วย รวมทั้งเป็นสร้างสัมพันธภาพอันดีระหว่างผู้ป่วยกับทีมบุคลากรทางการพยาบาล
6. แนวทางการดำเนินงาน
6.1 สร้างสัมพันธภาพระหว่างพยาบาลและผู้ป่วยเพื่อให้เกิดความไว้วางใจซึ่งกันและกัน
6.2 นำแบบประเมินวัดความเครียดของรพ.สวนปรุงมาให้ผู้ป่วยประเมินก่อนทำกิจกรรม
6.3 จัดบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมการสร้างสรรค์งานศิลปะ
6.4 เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้ทำกิจกรรมวาดภาพศิลปะตามความรู้สึกนึกคิดพร้อมทั้งให้ผู้ป่วยได้เขียนและเล่าความรู้สึกต่อภาพวาด
6.5 นำแบบประเมินวัดความเครียดของ รพ.สวนปรุงมาประเมินหลังทำกิจกรรม
6.6 พูดคุยและให้กำลังใจผู้ป่วย
7. ค่าใช้จ่ายในโครงการ
กระดานรองวาด 90 บาท
สมุดวาดเขียน 45 บาท
สีชอล์ค สีไม้ 184 บาท
ไม้บรรทัด 24 บาท
ซองใส่เอกสาร 20 บาท
ยางลบ 15 บาท
ดินสอ 40 บาท
8. ทรัพยากรที่ใช้ในหน่วยงาน
ทีมบุคลากรทางการพยาบาล
9. ปัญหาและอุปสรรค
การโน้มนาวให้ผู้ป่วยทำกิจกรรม Art therapy และการแสดงความรู้สึกออกมาผ่านทางภาพวาดต้องอาศัยความร่วมมือกันระหว่างผู้ป่วยกับพยาบาลซึ่งบางครั้งเกี่ยวโยงกับโรคร่วมที่ผู้ป่วยเป็น เช่นโรคต้อ ผู้ป่วยนอนติดเตียงไม่มีแรง หรือมีอาการหอบเหนื่อยซึ่งทำให้ผู้ป่วยรู้สึกไม่อยากทำกิจกรรมทำให้ไม่สามารถประเมินความพึงพอใจได้
10. ผลประโยชน์ของโครงการ
10.1 ผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลายลดความเครียดและความวิตกกังวล
10.2 เกิดสัมพันธภาพที่ดีระหว่างทีมบุคลากรทางการพยาบาลและผู้ป่วย
11. การติดตามประเมินผลโครงการ
11.1 ตัวชี้วัดการประเมินความเครียดก่อนและหลังทำกิจกรรม art therapy ลดลง 10 %
11.2 ตัวชี้วัดอัตราความพึงพอใจของผู้ป่วยและญาติต่อการรับบริการผู้ป่วยใน > 80 %
11.3 ผลงานภาพศิลปะของผู้ป่วยในแต่ละเดือน
ลงชื่อ.................................................... ผู้เสนอโครงการ
(นางสาวพรรณิกา กล่อมน้อย)
พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ
ลงชื่อ.................................................... ผู้อนุมัติ
(นางสาวทัศนีย์ ทองมาก)
พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
หัวหน้างานการพยาบาลอายุรกรรม
ภาคผนวก
แบบวัดความเครียด
ให้คุณอ่านข้อคำถามต่อไปนี้ แล้วสำรวจดูว่าในระยะ 6 เดือนที่ผ่านมา มีเหตุการณ์ในข้อใดเกิดขึ้นกับตัวคุณบ้าง ถ้าข้อไหนไม่ได้เกิดขึ้น ให้ข้ามไปไม่ต้องตอบ แต่ถ้ามีเหตุการณ์ในข้อใดเกิดขึ้นกับตัวคุณ ให้ประเมินว่าคุณมีความรู้สึกอย่างไรต่อเหตุการณ์นั้นแล้วทำเครื่องหมาย P ให้ตรงช่องตามที่คุณประเมิน โดย 1 หมายถึง ไม่รู้สึกเครียด
2 หมายถึง รู้สึกเครียดเล็กน้อย
ระดับของความเครียด 3 หมายถึง รู้สึกเครียดปานกลาง
4 หมายถึง รู้สึกเครียดมาก
5 หมายถึง รู้สึกเครียดมากที่สุด
ข้อที่ |
คำถามในระยะ 6 เดือนที่ผ่านมา |
ระดับของความเครียด |
||||
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
||
1 |
กลัวทำงานผิดพลาด |
|
|
|
|
|
2 |
ไปไม่ถึงเป้าหมายที่วางไว้ |
|
|
|
|
|
3 |
ครอบครัวมีความขัดแย้งกันในเรื่องเงินหรือเรื่องงานในบ้าน |
|
|
|
|
|
4 |
เป็นกังวลกับเรื่องสารพิษ หรือมลภาวะในอากาศ น้ำ เสียง และดิน |
|
|
|
|
|
5 |
รู้สึกว่าต้องแข่งขันหรือเปรียบเทียบ |
|
|
|
|
|
6 |
เงินไม่พอใช้จ่าย |
|
|
|
|
|
7 |
กล้ามเนื้อตึงหรือปวด |
|
|
|
|
|
8 |
ปวดหัวจากความตึงเครียด |
|
|
|
|
|
9 |
ปวดหลัง |
|
|
|
|
|
10 |
ความอยากอาหารเปลี่ยนแปลง |
|
|
|
|
|
11 |
ปวดศีรษะข้างเดียว |
|
|
|
|
|
12 |
รู้สึกวิตกกังวล |
|
|
|
|
|
13 |
รู้สึกคับข้องใจ |
|
|
|
|
|
14 |
รู้สึกโกรธ หรือหงุดหงิด |
|
|
|
|
|
15 |
รู้สึกเศร้า |
|
|
|
|
|
16 |
ความจำไม่ดี |
|
|
|
|
|
17 |
รู้สึกสับสน |
|
|
|
|
|
18 |
ตั้งสมาธิลำบาก |
|
|
|
|
|
19 |
รู้สึกเหนื่อยง่าย |
|
|
|
|
|
20 |
เป็นหวัดบ่อย |
|
|
|
|
|
การแปลผลแบบวัดความเครียด
มีคะแนนไม่เกิน 100 คะแนน
โดยผลรวมที่ได้ แบ่งเป็น 4 ระดับ
คะแนน 0 – 23 มีระดับความเครียดน้อย
คะแนน 24 – 41 มีระดับความเครียดปานกลาง
คะแนน 42 – 61 มีระดับความเครียดสูง
คะแนน 62 ขึ้นไป มีระดับความเครียดรุนแรง
เมื่อรวมคะแนนทุกข้อแล้วนำมาเปรียบเทียบกับเกณฑ์ปกติที่กำหนดดังนี้
1. คะแนน 0 - 23 คะแนน ท่านมีความเครียดในระดับน้อย (mild stress) หมายถึง ความเครียดขนาดน้อยๆ และหายไปในระยะเวลาอันสั้น เป็นความเครียดที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน ความเครียดระดับนี้ไม่คุกคามต่อการดำเนินชีวิต บุคคลมีการปรับตัวอย่างอัตโนมัติเป็นการปรับตัวด้วยความเคยชิน และการปรับตัวต้องการพลังงานเพียงเล็กน้อยเป็นภาวะที่ร่างกายผ่อนคลาย
2. คะแนน 24 - 41 คะแนน ท่านมีความเครียดในระดับปานกลาง (moderate stress) หมายถึง ความเครียดที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน เนื่องจากมีสิ่งคุกคาม หรือพบเหตุการณ์สำคัญๆในสังคม บุคคลจะมีปฏิกิริยาตอบสนองออกมา ในลักษณะความวิตกกังวล ความกลัว ฯลฯ ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติทั่วไป ไม่รุนแรงจนก้อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกาย เป็นระดับความเครียดที่ทำให้บุคคลเกิดความกระตือรือร้น
3. คะแนน 42 - 61 คะแนน ท่านมีความเครียดในระดับสูง (high stress) เป็นระดับที่บุคคลได้รับเหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดความเครียดสูง ไม่สามารถปรับตัวให้ลดความเครียดลงได้ในเวลาอันสั้น ถือว่าอยู่ในเขตอันตราย หากไม่ได้รับการบรรเทาจะนำไปสู่ความเครียดเรื้อรัง เกิดโรคต่างๆ ในภายหลังได้
4. คะแนน 62 คะแนน ขึ้นไป ท่านมีความเครียดในระดับรุนแรง (severe stress) เป็นความเครียดระดับสูงที่ดำเนินติดต่อกันมาอย่างต่อเนื่อง จนทำให้บุคคลมีความล้มเหลวในการปรับตัว เกิดความเบื่อหน่ายท้อแท้ หมดแรง ควบคุมตัวเองไม่ได้ เกิดอาการทางกายหรือโรคภัยต่างๆตามมาได้ง่าย
*อ้างอิงมาจาก แบบประเมินความเครียดโรงพยาบาลสวนปรุง
“นึกถึงบ้านสวนที่ต่างจังหวัด
ช่วงเทศกาลญาติจะมาพบปะกัน อากาศที่บ้านสวนสดชื่น ไม่มีมลพิษ
เวลากลับไปบ้านสวนผมจะมีความสุขมาก”
|
“ ลุงอยู่รพเป็นเดือนเวลาอยู่โรงพยาบาลมันก็คิดถึงบ้าน ” สมชาย
พลอยมีรัศมี |
“ ลุงนึกถึงภรรยาและบ้าน เพราะลุงอยู่บ้านกับภรรยา 2 คน” พ.ต.ท. ประกอบ ชัยเจริญ
|
- Teacher: อังคณา บ่มเกลี้ยง
ชื่อโครงการ Art Therapy เพื่อลดความเครียดในกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบำบัด
ผู้รับผิดชอบ นางสาวธีราภรณ์ หยอยสระ
หน่วยงานที่รับผิดชอบ หอผู้ป่วยเพชรรัตน์ 12 B
ปีงบประมาณ ปี 2561
1. หลักการและเหตุผล
ในปัจจุบันความเครียด ความวิตกกังวลนับเป็นปัญหาหนึ่งที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสังคม เศรษฐกิจและครอบครัวรวมถึงปัญหาสุขภาพซึ่งในแต่ละบุคคลจะมีความเครียดที่มีความแตกต่างกันไป เมื่อเกิดความเครียดขึ้นแล้วสิ่งที่สำคัญและจำเป็นที่สุดคือจะการทำอย่างไรให้ความเครียดเหล่านั้นหมดไปหรือบรรเทาลงเพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด ซึ่งทางหอผู้ป่วยเพชรรัตน์ 12 B ให้การดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการยาเคมีบำบัดซึ่งส่วนใหญ่จะต้องนอนพักรักษาอาการเจ็บป่วยโดยเฉลี่ยเป็นเวลา 5 – 15 วันหรือนานกว่านี้ขึ้นอยู่กับโรคและการตอบสนองต่อการรักษา
ดังนั้นทางหอผู้ป่วยเพชรรัตน์ 12 B จึงเล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหานี้ จึงคิดทำโครงการArt therapy ขึ้นมาเพื่อนำศิลปะมาใช้ในการพัฒนาจิตใจจะช่วยให้ผู้ป่วยที่มีปัญหาทางด้านอารมณ์และจิตใจได้ระบายปัญหา ความคับข้องใจผ่านออกมาทางงานศิลปะเพื่อผู้ป่วยจะได้รู้สึกผ่อนคลาย
ลดความขุ่นมัวในจิตใจ เข้าใจและรับรู้อารมณ์ต่าง ๆ ของตนเอง สามารถยับยั้งและควบคุมอารมณ์ได้ดีขึ้น มีสมาธิ ลดความตึงเครียดความวิตกกังวลลงได้
2. วัตถุประสงค์
2.1 เพื่อให้ผู้ป่วยได้แสดงความรู้สึกนึกคิดต่างๆ ออกมาเป็นภาพเรื่องราว
2.2 เพื่อให้ผู้ป่วยมีความเพลินเพลิด และรู้สึกผ่อนคลายความวิตกกังวล จากการเจ็บป่วยหรือการนอนโรงพยาบาลนานๆ
2.3 เพื่อเป็นการสร้างสัมพันธภาพอันดีระหว่างผู้ป่วยและบุคลากรทางการพยาบาล
2.4 เพื่อให้เกิดความพึงพอใจต่อการรับบริการผู้ป่วยใน
3. เป้าหมาย
กลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบำบัดทุกราย
4. ตัวชี้วัด
1. อัตราความเครียดของกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบำบัดหลังทำกิจกรรมลดลง 10%
2. อัตราความพึงพอใจต่อการรับบริการผู้ป่วยใน > 85 %
5. ลักษณะโครงการ
โครงการ Art therapy เป็นโครงการที่นำแนวคิดของศิลปะบำบัดมาใช้โดยเริ่มจากการโน้มน้าวผู้ป่วยให้เข้าร่วมกิจกรรม ให้ผู้ป่วยได้แสดงความคิดและความรู้สึกออกทางผลงานศิลปะ นำภาพศิลปะมาวิเคราะห์ให้เห็นถึงความรู้สึกนึกคิดว่าเป็นอย่างไร เพื่อให้ผู้ป่วยผ่อนคลายจากความวิตกกังวลจากการเจ็บป่วยหรือการนอนโรงพยาบาลนานๆ ได้เพลิดเพลินในการทำกิจกรรม เกิดความพึงพอใจต่อการรับบริการ รวมทั้งเป็นสร้างสัมพันธภาพอันดีระหว่างผู้ป่วยและทีมบุคลากรทางการพยาบาล
6. แนวทางการดำเนินงาน
6.1 สร้างสัมพันธภาพระหว่างพยาบาลและผู้ป่วยเพื่อให้เกิดความไว้วางใจซึ่งกันและกัน
6.2 นำแบบประเมินวัดความเครียดของรพ.สวนปรุงมาให้ผู้ป่วยประเมินก่อนทำกิจกรรม
6.3 จัดบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมการสร้างสรรค์งานศิลปะ
6.4 เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้ทำกิจกรรมวาดภาพศิลปะตามความรู้สึกนึกคิดพร้อมทั้งให้ผู้ป่วยได้เขียนและเล่าความรู้สึกต่อภาพวาด
6.5 นำแบบประเมินวัดความเครียดของ รพ.สวนปรุงมาประเมินหลังทำกิจกรรม
6.6 พูดคุยและให้กำลังใจผู้ป่วย
7. ค่าใช้จ่ายในโครงการ
กระดานรองวาด 90 บาท
สมุดวาดเขียน 45 บาท
สีไม้ 80 บาท
สีชอล์ค 104 บาท
ไม้บรรทัด 24 บาท
ซองใส่เอกสาร 20 บาท
ยางลบ 15 บาท
ดินสอ 40 บาท
8. ทรัพยากรที่ใช้ในหน่วยงาน
ทีมบุคลากรทางการพยาบาล
9. ปัญหาและอุปสรรค
การโน้มนาวให้ผู้ป่วยทำกิจกรรม Art therapy และการแสดงความรู้สึกออกมาผ่านทางภาพวาดต้องอาศัยความร่วมมือกันระหว่างผู้ป่วยกับพยาบาลซึ่งบางครั้งผู้ป่วยรู้สึกไม่อยากทำกิจกรรมทำให้ไม่สามารถประเมินความพึงพอใจได้
10. ผลประโยชน์ของโครงการ
10.1 ผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลายลดความเครียดและความวิตกกังวล
10.2 เกิดสัมพันธภาพที่ดีระหว่างทีมบุคลากรทางการพยาบาลและผู้ป่วย
11. การติดตามประเมินผลโครงการ
11.1 ตัวชี้วัดการประเมินความเครียดก่อนและหลังทำกิจกรรม art therapy ลดลง 10 %
11.2 ตัวชี้วัดอัตราความพึงพอใจของผู้ป่วยและญาติต่อการรับบริการผู้ป่วยใน > 85 %
11.3 ผลงานภาพศิลปะของผู้ป่วยในแต่ละเดือน
ลงชื่อ.................................................... ผู้เสนอโครงการ
(นางสาวธีราภรณ์ หยอยสระ)
พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ
ลงชื่อ.................................................... ผู้อนุมัติ
(นางสาวทัศนีย์ ทองมาก)
พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
หัวหน้างานการพยาบาลอายุรกรรม
ภาคผนวก
แบบวัดความเครียด
ให้คุณอ่านข้อคำถามต่อไปนี้ แล้วสำรวจดูว่าในระยะ 6 เดือนที่ผ่านมา มีเหตุการณ์ในข้อใดเกิดขึ้นกับตัวคุณบ้าง ถ้าข้อไหนไม่ได้เกิดขึ้น ให้ข้ามไปไม่ต้องตอบ แต่ถ้ามีเหตุการณ์ในข้อใดเกิดขึ้นกับตัวคุณ ให้ประเมินว่าคุณมีความรู้สึกอย่างไรต่อเหตุการณ์นั้นแล้วทำเครื่องหมาย P ให้ตรงช่องตามที่คุณประเมิน โดย 1 หมายถึง ไม่รู้สึกเครียด
2 หมายถึง รู้สึกเครียดเล็กน้อย
ระดับของความเครียด 3 หมายถึง รู้สึกเครียดปานกลาง
4 หมายถึง รู้สึกเครียดมาก
5 หมายถึง รู้สึกเครียดมากที่สุด
ข้อที่ |
คำถามในระยะ 6 เดือนที่ผ่านมา |
ระดับของความเครียด |
||||
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
||
1 |
กลัวทำงานผิดพลาด |
|
|
|
|
|
2 |
ไปไม่ถึงเป้าหมายที่วางไว้ |
|
|
|
|
|
3 |
ครอบครัวมีความขัดแย้งกันในเรื่องเงินหรือเรื่องงานในบ้าน |
|
|
|
|
|
4 |
เป็นกังวลกับเรื่องสารพิษ หรือมลภาวะในอากาศ น้ำ เสียง และดิน |
|
|
|
|
|
5 |
รู้สึกว่าต้องแข่งขันหรือเปรียบเทียบ |
|
|
|
|
|
6 |
เงินไม่พอใช้จ่าย |
|
|
|
|
|
7 |
กล้ามเนื้อตึงหรือปวด |
|
|
|
|
|
8 |
ปวดหัวจากความตึงเครียด |
|
|
|
|
|
9 |
ปวดหลัง |
|
|
|
|
|
10 |
ความอยากอาหารเปลี่ยนแปลง |
|
|
|
|
|
11 |
ปวดศีรษะข้างเดียว |
|
|
|
|
|
12 |
รู้สึกวิตกกังวล |
|
|
|
|
|
13 |
รู้สึกคับข้องใจ |
|
|
|
|
|
14 |
รู้สึกโกรธ หรือหงุดหงิด |
|
|
|
|
|
15 |
รู้สึกเศร้า |
|
|
|
|
|
16 |
ความจำไม่ดี |
|
|
|
|
|
17 |
รู้สึกสับสน |
|
|
|
|
|
18 |
ตั้งสมาธิลำบาก |
|
|
|
|
|
19 |
รู้สึกเหนื่อยง่าย |
|
|
|
|
|
20 |
เป็นหวัดบ่อย |
|
|
|
|
|
การแปลผลแบบวัดความเครียด
มีคะแนนไม่เกิน 100 คะแนน
โดยผลรวมที่ได้ แบ่งเป็น 4 ระดับ
คะแนน 0 – 23 มีระดับความเครียดน้อย
คะแนน 24 – 41 มีระดับความเครียดปานกลาง
คะแนน 42 – 61 มีระดับความเครียดสูง
คะแนน 62 ขึ้นไป มีระดับความเครียดรุนแรง
เมื่อรวมคะแนนทุกข้อแล้วนำมาเปรียบเทียบกับเกณฑ์ปกติที่กำหนดดังนี้
1. คะแนน 0 - 23 คะแนน ท่านมีความเครียดในระดับน้อย (mild stress) หมายถึง ความเครียดขนาดน้อยๆ และหายไปในระยะเวลาอันสั้น เป็นความเครียดที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน ความเครียดระดับนี้ไม่คุกคามต่อการดำเนินชีวิต บุคคลมีการปรับตัวอย่างอัตโนมัติเป็นการปรับตัวด้วยความเคยชิน และการปรับตัวต้องการพลังงานเพียงเล็กน้อยเป็นภาวะที่ร่างกายผ่อนคลาย
2. คะแนน 24 - 41 คะแนน ท่านมีความเครียดในระดับปานกลาง (moderate stress) หมายถึง ความเครียดที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน เนื่องจากมีสิ่งคุกคาม หรือพบเหตุการณ์สำคัญๆในสังคม บุคคลจะมีปฏิกิริยาตอบสนองออกมา ในลักษณะความวิตกกังวล ความกลัว ฯลฯ ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติทั่วไป ไม่รุนแรงจนก้อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกาย เป็นระดับความเครียดที่ทำให้บุคคลเกิดความกระตือรือร้น
3. คะแนน 42 - 61 คะแนน ท่านมีความเครียดในระดับสูง (high stress) เป็นระดับที่บุคคลได้รับเหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดความเครียดสูง ไม่สามารถปรับตัวให้ลดความเครียดลงได้ในเวลาอันสั้น ถือว่าอยู่ในเขตอันตราย หากไม่ได้รับการบรรเทาจะนำไปสู่ความเครียดเรื้อรัง เกิดโรคต่างๆ ในภายหลังได้
4. คะแนน 62 คะแนน ขึ้นไป ท่านมีความเครียดในระดับรุนแรง (severe stress) เป็นความเครียดระดับสูงที่ดำเนินติดต่อกันมาอย่างต่อเนื่อง จนทำให้บุคคลมีความล้มเหลวในการปรับตัว เกิดความเบื่อหน่ายท้อแท้ หมดแรง ควบคุมตัวเองไม่ได้ เกิดอาการทางกายหรือโรคภัยต่างๆตามมาได้ง่าย
*อ้างอิงมาจาก แบบประเมินความเครียดโรงพยาบาลสวนปรุง
“อยากปั่นจักรยานคู่ใจ
|
“ ความรู้สึกคิดถึงบ้านไร่นา ที่มีอากาศแสนบริสุทธิ์
มองไปทางไหนก็เขียวไปหมด ซึ่งจะรู้สึกสดชื่นยิ่งในตอนเช้าๆ บรรยากาศจะดีมาก
มีหมอก มีเสียงนก เสียงกา ร้องกันคึกคัก ทำให้คิดถึงบ้านนอก จึงวาดภาพนี้
” |
“
อยากออกเดินทางท่องเที่ยวไปกับธรรมชาติบนถนน
ภัทรวรรธน์ ธัญญาหารรุ่งโรจน์ |
“ เวลาอยู่โรงพยาบาลมันก็คิดถึงบ้าน ที่ไหนก็นอนไม่สบายเหมือนบ้านเรา คิดถึงครอบครัวคิดถึงลูก ”
บุญเชิด เที่ยงธรรม |
“ ผมไม่รู้ว่าผมรู้สึกอะไร ผมคงเคยชินกับการมาให้ยาเคมีอยู่เป็นประจำ รูปที่วาดก็วาดระบายไปเรื่อย”
ไพโรจน์ กุลสันเทียะ
|
“ที่ผมวาดภาพรูปนี้ ผมคิดถึงบ้าน บ้านผมเป็นคล้ายๆแบบนี้มีข้าว มีแม่น้ำ มีปลา มันมีความสุข ไม่เหมือนอยู่ที่นี้ อยากกลับบ้านครับ แล้วช่วงนี้ คิดถึงในหลวง คิดถึงท่านที่มีโครงการเศรษฐกิจพอเพียง ให้บ้านผมได้ทำตามแนวทาง” พิทักษ์
พรมนอก |
- Teacher: อังคณา บ่มเกลี้ยง
Comparison of wound dressing with 0.9% normal saline and
Hydrocolloid mesh with Silver sulfadiazine in Skin tear
Abstract
A comparison study was designed to determine the effects of wound dressing with 0.9% normal saline and Hydrocolloid mesh with Silver sulfadiazine in Skin tear. This quasi-experimental research
Objective investigate Comparison of wound dressing with 0.9% normal saline and Hydrocolloid mesh with Silver sulfadiazine in Skin tear
Method The sample consisted of 700 patients at the medicine men service unit, Faculty of medicine vajira Hospital, Navamindradhiraj University. The patients were divided into two group received the conventional nursing care whereas the experimental group received the Hydrocolloid mesh with Silver sulfadiazine on Skin tear. The data collection was conducted from January 2014 - August 2015. The instrument used for data collection was a
Questionnaire. Independent t-test were used for the data analysis.
Result of the study indicated that the patient in the experimental group had higher significantly level of Skin tear than those in the control group (p<.05). Therefore,
Conclusion the program should be used to set guideline in Skin tear care for patients.
KEYWORDS: wound dressing / Hydrocolloid mesh with Silver sulfadiazine / Skin tear
การศึกษาเปรียบเทียบการทําแผลด้วย 0.9% นอร์มัลซาไลน์กับไฮโดรคอลลอยด์ชนิด ตาข่ายผสมซิลเวอร์ซัลฟาไดอะซีนต่อการบรรเทาภาวะผิวหนังฉีกขาด
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเปรียบเทียบ เพื่อศึกษาผลของการทําแผลด้วย 0.9% นอร์มัลซาไลน์กับไฮโดรคอลลอยด์ชนิด ตาข่ายผสมซิลเวอร์ซัลฟาไดอะซีน ต่อการบรรเทา ภาวะผิวหนังฉีกขาด การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการทําแผลด้วย 0.9%
นอร์มัลซาไลน์กับไฮโดรคอลลอยด์ชนิดตาข่ายผสมซิลเวอร์ซัลฟาไดอะซีนต่อการ บรรเทาภาวะผิวหนังฉีกขาด วิธีดําเนินการวิจัย โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสะดวก รวมทั้งสิ้น 700 คน
แบ่งเป็นกลุ่ม ควบคุมได้รับการพยาบาลแบบปกติ และกลุ่มทดลอง ได้รับการปฏิบัติ การพยาบาลโดยใช้ไฮโดรคอลลอยด์ชนิดตาข่ายผสมซิลเวอร์ซัลฟาไดอะซีนบริเวณ แผลผิวหนังฉีกขาด ซึ่งดําเนินการวิจัย ช่วงเดือนมกราคม 2557 - สิงหาคม 2558 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติทดสอบค่าที
(Independent t-test)
ผลการวิจัย พบว่าการทําแผลด้วยไฮโดรคอลลอยด์ชนิดตาข่ายผสมซิลเวอร์
ซัลฟาไดอะซีน มีผลต่อการบรรเทาภาวะผิวหนังฉีกขาดดีกว่าการทําแผลด้วย0.9% นอร์มัลซาไลน์ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < .05) สรุป ผลงานวิจัยนี้สามารถนําไปพัฒนาสร้างแนวปฏิบัติการพยาบาล
ในการบรรเทาภาวะผิวหนังฉีกขาดได้
คําสําคัญ : การทำแผล / ไฮโดรคอลลอยด์ชนิดตาข่ายผสมซิลเวอร์ซัลฟาไดอะซีน / ภาวะผิวหนังฉีกขาด
ชื่อเรื่อง การศึกษาเปรียบเทียบการทําแผลด้วย 0.9% นอร์มัลซาไลน์กับไฮโดรคอลลอยด์ ชนิดตาข่ายผสมซิลเวอร์ซัลฟาไดอะซีนต่อการบรรเทาภาวะผิวหนังฉีกขาด Comparison of wound dressing with 0.9% normal saline and Hydrocolloid mesh with Silver sulfadiazine in Skin tear
ผู้นิพนธ์ นางสาวคู่ขวัญ มาลีวงษ์
Miss Khukuan Maleewong
ตําแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชํานาญการ
ภาควิชา ฝ่ายการพยาบาล คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
ความเป็นมาและความสําคัญของเนื้อหา ภาวะผิวหนังฉีกขาดมักเกิดจากการบาดเจ็บที่ผิวหนังแบบเฉียบพลันและอาจจะส่งผลให้
นําไปสู่ภาวะแทรกซ้อน ความเจ็บปวดรวมทั้งติดเชื้อ ถ้าผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาล่าช้าซึ่งจะ สะท้อนถึงคุณภาพของการดูแลรักษาของทีมสุขภาพ7 และภาวะผิวหนังฉีกขาดเป็นบาดแผล ที่เกิดในกลุ่มผู้สูงอายุ บาดแผลชนิดนี้นอกจากส่งผลให้เกิดความเจ็บปวด ยังเพิ่มค่าใช้จ่ายใน การรักษามากขึ้นโดยพบว่า ร้อยละ 80 เกิดบริเวณแขนและมือในกลุ่มผู้สูงอายุ5 โดยปัจจัยเสี่ยง เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของอายุ ผิวหนังแห้ง สูญเสียความตึงผิว เกิดการบาดเจ็บ หรือติดเชื้อ บริเวณผิวหนัง ความผิดปกติของหลอดเลือด ภาวะทุพโภชนาการ8 จากการที่ผู้ศึกษาวิจัยปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยอายุรกรรมชาย 1 คณะแพทยศาสตร์วชิร
พยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช พบว่าภาวะผิวหนังฉีกขาดเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นจริงและ มีจํานวนเพิ่มมาก ขึ้นจาก 480 เป็น 600 รายในปี 2555 และ 2556 ตามลําดับ แต่ยังไม่มีแนวปฏิบัติ การพยาบาลเพื่อบรรเทาภาวะผิวหนังฉีกขาดอย่างเป็นรูปธรรม โดยปัจจุบันได้ทําแผลผิวหนัง ฉีดขาดด้วย 0.9% NSS ตามมาตรฐานการดูแลบาดแผล ถ้ามีการพัฒนาการปฏิบัติการพยาบาล เพื่อดูแลรักษาบาดแผลประเภทนี้ จะทําให้สามารถลดอุบัติการณ์ การเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ และยังสามารถลดค่าใช้จ่ายในการรักษาที่ต้องเพิ่มขึ้น เช่นจากการได้รับยาปฏิชีวนะ ลดระยะ เวลาในการนอนโรงพยาบาล เพิ่มความพึงพอใจ ของผู้รับบริการ เป็นต้น จากปัญหาและผลกระทบดังกล่าว คณะผู้วิจัยในฐานะพยาบาลผู้ให้การดูแลผู้ป่วยที่
เกิดภาวะผิวหนังฉีก ขาดเห็นความสําคัญของการจัดการกับภาวะผิวหนังฉีกขาดเป็นการพัฒนา คุณภาพในการปฏิบัติการพยาบาลให้ดีที่สุด โดยมุ่งหวังผลลัพธ์คือผู้ป่วยได้รับการรักษาพยาบาล อย่างมีประสิทธิภาพ เกิดความพึงพอใจในการรักษาพยาบาล ซึ่งคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช เป็นโรงพยาบาลระดับตติยภูมิขั้นสูงที่ได้รับการรับรองคุณภาพ (HA) วิธีการหนึ่งซึ่งเป็นที่ยอมรับ ในสากลว่าเป็นการให้บริการที่มีคุณภาพคือการพัฒนา หรือปรับปรุงคุณภาพการให้บริการอย่างต่อเนื่อง โดยใช้ความรู้จากการวิจัยร่วมกับความรู้จาก แหล่งอื่น ๆ เช่นประสบการณ์จากการทํางานในการพัฒนา แนวปฏิบัติการพยาบาลให้เหมาะสม กับการดูแลผู้ป่วย บริบทและทรัพยากรในสิ่งแวดล้อมนั้นๆ ดังนั้นพยาบาลเป็นบุคลากรที่มี โอกาสดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดตลอด 24 ชั่วโมง จึงมีบทบาทสําคัญในการ พัฒนาและปรับปรุงการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะผิวหนังฉีกขาดเพื่อให้ผู้ป่วยมีความปลอดภัย ซึ่ง แสดงถึงการพยาบาลที่มีคุณภาพได้มาตรฐานของวิชาชีพ
จากสถิติการเกิดภาวะผิวหนังฉีกขาดในงานการพยาบาลอายุรกรรมคณะแพทยศาสตร์ วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช พบว่ามีจํานวนเพิ่มขึ้นจาก 550 ครั้ง 480 ครั้งและ 600 ครั้ง ในปี พ.ศ. 2554, 2555 และ 2556 ตามลําดับ ปัจจุบันเทคโนโลยีในการรักษาบาดแผลแต่ ละชนิดมีการพัฒนา และเจริญก้าวหน้าขึ้นมากซึ่งการเลือกผลิตภัณฑ์ในการดูแลบาดแผลที่
เหมาะสมจะส่งผลให้ ทําลายเนื้อเยื่อดีน้อยที่สุดและส่งเสริมการหายของบาดแผลที่เหมาะสม จากการทบทวนวรรณกรรม พบว่า
1.ไฮโดรคอลลอยด์ มีส่วนผสมของโพลีเมอร์ ที่มี polysaccharicles , sodium carboxymethylcellulose , pectin และ gelatin รวมอยู่ด้วยกัน เมื่อนํามาใช้ในการรักษาแผล คุณสมบัติที่สามารถดูดน้ําได้ในระดับปานกลางเกิดจากส่วนของ polymer จะไปจับกับ exudates ซึ่งทําให้รักษาความชุ่มชื้นให้แผลได้ดี1 สารไฮโดรคอลลอยด์จะกลายเป็นเจลเจลเมื่อผสมกับสาร
หลั่งช่วยในการอํานวยความสะดวกในการรักษาแผลชื้นซึ่งจะกระตุ้นเส้นเลือดฝอยขยายตัวของ เซลล์ผิวใหม่4 เกิดการเชื่อมต่อของเนื้อเยื่อ3
2.ส่วนประกอบของโลหะเงิน มีการเริ่มใช้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1970 ด้วยคุณสมบัติ promote healing และ anti-inflammatory effect ต่อแผล ที่นิยมใช้กันคือ silver sulfadiazineเพราะมีฤทธิ์กว้างในการครอบคลุมเชื้อ bacteria กระตุ้น wound epithelization3
3.วัสดุปิดแผลชนิดตาข่ายช่วยลดการความเจ็บปวดทรมานจากการติดแผลขณะลอกออก ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้บาดแผล6 และยังส่งผลให้เห็นถึงศิลปะในการให้การพยาบาล การรักษา ที่ช่วยลดความเจ็บปวด ลดภาระงานทางการแพทย์โดยไม่จําเป็น ลดค่าใช้จ่ายในการเปิดแผลเพื่อทําความสะอาดบ่อยครั้ง2 เพิ่มความพึงพอใจแก่ผู้ป่วยและผู้ให้บริการ3 ด้วยเหตุนี้จึงเป็นที่มาของความสนใจในการพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้ไฮโดรคอลลอยด์ชนิดตาข่ายผสมซิลเวอร์ซัลฟาไดอะซีนต่อการบรรเทาภาวะผิวหนังฉีกขาดในผู้ป่วยที่เข้า รับการรักษา ในหอผู้ป่วยอายุรกรรมชาย 1 คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมิน ทราธิราช
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการทําแผลด้วย 0.9% นอมัลซา ไลด์กับไฮโดรคอลลอยด์ชนิดตาข่ายผสมซิลเวอร์ซัลฟาไดอะซีนต่อการบรรเทาภาวะผิวหนังฉีก ขาด จากองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องและการสังเกตผู้ป่วยในสถานการณ์จริง
วิธีดําเนินการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi- experimental Research Design) ชนิดสองกลุ่มทดสอบก่อนและหลัง (two group pretest-posttest design) โดยดําเนินการวิจัยตามขั้นตอน ดังนี้
ดําเนินการด้านจริยธรรมในการวิจัยทําหนังสือขออนุมัติการทําวิจัยจากคณะกรรมการ พิจารณาจริยธรรมการวิจัยคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
ผู้วิจัยสํารวจรายชื่อผู้ป่วยจากแฟ้มประวัติผู้ป่วย ศึกษารายงานประวัติของผู้ป่วยที่มี คุณสมบัติตามที่กําหนดไว้
กําหนดคุณสมบัติกลุ่มตัวอย่างตามเกณฑ์ที่กําหนดไว้
4.ผู้วิจัยทําการขอคํายินยอมกับอาสาสมัคร ที่หอผู้ป่วยอายุรกรรมชาย 1 เมื่อพบว่าอาสา สมัครมีคุณสมบัติครบทุกประการ
5. รวบรวมข้อมูล โดยทําการประเมินแผลจํานวน 5 ครั้ง ระยะเวลาห่างกันนาน 3 วัน ต่อรอบ ทั้งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยทําการประเมินแผลตามระดับของผิวหนังฉีกขาด
เครื่องมือวัดตัวแปร
เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย
ส่วนที่ 1 แบบสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนบุคคล
ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย ข้อมูลเกี่ยวกับ อายุ ระดับการศึกษา วันที่เข้ารับการรักษา ระยะเวลาการเข้ารับการรักษา และวันที่พบภาวะผิวหนังฉีกขาด
ส่วนที่ 2. แบบประเมินภาวะผิวหนังฉีกขาด ประเมินโดยพยาบาลคนเดียวกันตลอดการวิจัยจนสิ้นสุดลง และข้อ 6
ประเมินวันแรกที่พบการเกิดแผลผิวหนังฉีกขาด ส่วนข้อ 9ประเมินแผล ผิวหนังฉีกขาดทุก 3 วัน หลังจากทําการทดลองรวมทั้งหมดจํานวน 5 ครั้ง ทั้งในกลุ่มควบคุมและกลุ่ม ทดลอง
ประชากรตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างได้จากการเลือกแบบสะดวก (convenience sampling) เกณฑ์การคัดเข้า คือ มีคุณสมบัติครบทุกประการดังนี้ คือ
เป็นผู้ป่วยชายที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป
ได้รับการรักษาในหอผู้ป่วยอายุรกรรมชาย 1
เป็นผู้ป่วยที่มีระดับภาวะผิวหนังฉีกขาด ระดับ 1-3
สามารถสื่อสารด้วยภาษาไทยได้ดี
ยินยอมเข้าร่วมในการวิจัย
ไม่เป็นผู้ที่มีอาการแพ้ซัลฟาไดอะซีน เกณฑ์การคัดออก คือ
1. มีคุณสมบัติไม่ครบถ้วน
2.มีประวัติแพ้ยาซัลฟาไดอะซีน หรือสารประกอบอื่นๆ ที่ใช้ในการทําแผล เกณฑ์การหยุดการวิจัย คือ
อาสาสมัครปฏิเสธการยินยอมเข้าร่วมการวิจัยในระหว่างการวิจัย หรือมีอาการแพ้ซัลฟาไดอะซีน และในกลุ่มควบคุมถ้าแผลไม่ดีขึ้นจะได้รับการดูแลแผลตามมาตรฐานการพยาบาล จนกระทั่งแผลหาย
ขนาดตัวอย่างและวิธีใช้ในการกําหนดขนาดกลุ่ม
ขนาดของกลุ่มตัวอย่างคํานวณโดยใช้สูตรการคํานวณขนาดตัวอย่าง 2 กลุ่มโดยวิธีทดสอบสมมุติฐานสําหรับผลต่างค่าสัดส่วน พบว่าได้จํานวนกลุ่มตัวอย่าง 350 รายต่อกลุ่ม
นิยามตัวแปร
ผิวหนังฉีกขาด หมายถึง แผลที่เกิดจากแรงเฉือน แรงเสียดทาน และหรือแรงที่ส่งผลให้เกิดการแยกของชั้นผิวชั้น epidermis ออกจากชั้น dermis จากสาเหตุของผิวหนังขาดความสมบูรณ์อันเนื่องจาก สูงอายุ ติดเชื้อบริเวณผิวหนัง เป็นต้น ไม่รวมถึงบาดแผลจากอุบัติเหตุหรือมีวัตถุมากระทําบริเวณผิวหนังจนเป็นผลให้เกิดแผล ระดับของผิวหนังฉีกขาด แบ่งออกเป็น 3 ระดับ7
|
ระดับ 1 |
ผิวหนังฉีกขาด แต่ไม่มีการสูญเสียผิวหนังหรือเนื้อเยื่อ |
|
1A |
ฉีกขาดเป็นเส้น ไม่บวมแดง ไม่เปลี่ยนสี |
|
1B |
ฉีกขาดลักษณะพะเยิบ บวม แดง และอาจเปลี่ยนเป็นน้ําตาลหรือดํา |
|
ระดับ 2 |
ผิวหนังฉีกขาด และมีการสูญเสียผิวหนังบางส่วน |
|
2A |
สูญเสียผิวหนังน้อยกว่าร้อยละ 25 |
|
2B |
สูญเสียผิวหนังตั้งแต่ร้อยละ 25 ขึ้นไป |
|
ระดับ 3 |
ผิวหนังฉีกขาด และมีการสูญเสียผิวหนังอย่างสมบูรณ์ |
www. http://joannabriggslibrary.org/index.php/jbisrir/article/view/1674/2169
ปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้ไฮโดรคอลลอยด์ชนิดตาข่ายผสมซิลเวอร์ซัลฟาไดอะซีน หมายถึง การใช้ ไฮโดรคอลลอยด์ชนิดตาข่ายผสมซิลเวอร์ซัลฟาไดอะซีนในการทําแผลผิวหนัง ฉีกขาด และประเมินผลใน 3 วันต่อมา จำนวน 5 ครั้ง รวมเวลาทั้งสิ้น 15 วัน การบรรเทาภาวะผิวหนังฉีกขาด หมายถึง ระดับของผิวหนังฉีกขาดลดระดับลงตาม เกณฑ์การประเมินระดับภาวะผิวหนังฉีกขาด
ปฏิบัติการพยาบาลตามปกติ หมายถึง การดูแลตามปกติที่พยาบาลประจําการให้กับผู้ ป่วยที่มีภาวะผิวหนังฉีกขาด
วิธีวิเคราะห์ข้อมูล
ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้โปรแกรม SPSS version 11.5 โดยมีรายละเอียด ในการวิเคราะห์ข้อมูลดังนี้
1. อายุ ระดับการศึกษา ตําแหน่งการเกิด และขนาดของแผลโดยการหาความถี่ และค่าร้อยละ 2. เปรียบเทียบระยะเวลาการบรรเทาภาวะผิวหนังฉีกขาดระหว่าง
กลุ่มที่ใช้ไฮโดรคอลลอยด์ชนิดตาข่ายผสมซิลเวอร์ซัลฟาไดอะซีน และกลุ่มที่ใช้ 0.9%NSS โดยใช้สถิติทดสอบค่าที (Independent t-test)
ผลการวิจัย
กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้เป็นผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยอายุรกรรมชาย 1 คณะแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาล จํานวน 700 ราย จําแนกเป็นกลุ่มทดลองและ กลุ่มควบคุม กลุ่มละ 350 ราย จําแนกข้อมูลส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา ตําแหน่งการเกิดภาวะผิวหนังฉีกขาด และขนาดของแผล กลุ่มทดลอง จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 71.7
เกิดภาวะผิวหนังฉีกขาดบริเวณแขน ร้อยละ 31.4 และแผลมีขนาด 2.1-4 ตารางเซนติเมตร ร้อยละ 70
กลุ่มควบคุม จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 71.7
เกิดภาวะผิวหนังฉีกขาดบริเวณแขน ร้อยละ 32.6 และแผลมีขนาด 2.1-4 ตารางเซนติเมตร ร้อยละ 70 ดังแสดงในตารางที่ 1
ตารางที่ 1 จํานวนและร้อยละของกลุ่มตัวอย่างจําแนกตามอายุ และระยะเวลาการบรรเทาภาวะ ผิวหนังฉีกขาด
กลุ่มตัวอย่าง
|
กลุ่มทดลอง (n=350คน) |
กลุ่มควบคุม(n=350คน) |
|||
จำนวน(คน) |
จำนวน(คน) |
||||
อายุ (ปี) |
(X=70.7,S.D.=12.24) |
(X=71.06,S.D.=12.32) |
|||
60-70 |
179 |
51.1 |
152 |
43.4 |
|
70-80 |
112 |
32 |
118 |
33.7 |
|
80-90 |
47 |
14.6 |
68 |
19.4 |
|
90-100 ระดับการศึกษา |
12
|
3.4
|
12
|
3.4
|
|
ไม่ได้รับการศึกษา ประถมศึกษา |
1 250 |
0.2 71.4 |
3 251 |
0.8 71.7 |
|
มัธยมศึกษา |
94 |
26.8 |
89 |
25.4 |
|
ปริญญาตรี ตําแหน่งการเกิด |
5
|
1.4
|
7
|
2
|
|
ขา แขน คอ เท้า มือ สะโพก หลัง ไหล่ |
41 110 0 53 88 21 18 19 |
11.7 31.4 0 15.1 25.1 6 5.14 5.42 |
73 115 1 60 51 23 8 19 |
20.8 32.6 0.2 17.1 14.5 6.5 2.3 5.4 |
กลุ่มตัวอย่าง
|
กลุ่มทดลอง (n=350คน) |
กลุ่มควบคุม(n=350คน) |
จำนวน(คน) |
จำนวน(คน) |
|
ขนาดของแผล (cm2) |
|
|
0.1 - 2 2.1 - 4 4.1 - 6 |
104 29.7 245 70 1 0.3 |
93 26.5 245 70 12 3.4 |
เมื่อเปรียบเทียบระยะเวลาการบรรเทาภาวะผิวหนังฉีกขาดระหว่างกลุ่มที่ใช้ไฮโดรคอล
ลอยด์ชนิดตาข่ายผสมซิลเวอร์ซัลฟาไดอะซีนและกลุ่มที่ใช้ 0.9%NSS แตกต่างกันอย่างมีนัย สําคัญทางสถิติที่ระดับ p < 0.05 ดังตารางที่ 2
ตารางที่ 2 เปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของระยะเวลาในการบรรเทาภาวะผิวหนังฉีกขาด ระหว่างกลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 กลุ่ม
กลุ่ม |
ค่าเฉลี่ย |
S.D. |
df |
t |
P value |
ควบคุม |
24.18 |
9.329 |
698 |
2.52 |
.012* |
ทดลอง |
5.11 |
1.67 |
|
|
|
* p < 0.05
การบรรเทาภาวะผิวหนังฉีกขาดในผู้ป่วยที่ได้รับไฮโดรคอลลอยด์ชนิดตาข่ายผสมซิล เวอร์ซัลฟาไดอะซีนอยู่ในระยะเวลา 3-6 วัน จากระดับ 2b เป็น 1b ขณะที่ผู้ป่วยที่ได้รับ 0.9%NSS การการบรรเทาภาวะผิวหนังฉีกขาดอยู่ในระยะเวลา 21-25 วันจากระดับ 2b เป็น 2a
วิจารณ์
จากผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างทั้งที่ใช้ไฮโดรคอลลอยด์ชนิดตาข่ายผสมซิลเวอร์ซัล ฟาไดอะซีนและกลุ่มที่ใช้ 0.9%NSS มีขนาดแผล และตําแหน่งการเกิดแผลใกล้เคียงกัน ในขณะ ที่การใช้ไฮโดรคอลลอยด์ชนิดตาข่ายผสมซิลเวอร์ซัลฟาไดอะซีนใช้เวลาในการบรรเทาภาวะผิว หนังฉีกขาดได้สั้นกว่า ในการนำไฮโดรคอลลอยด์ชนิดตาข่ายผสมซิลเวอร์ซัลฟาไดอะซีนไปใช้ดู แลแผลผู้ป่วยที่มีภาวะภาวะผิวหนังฉีกขาด นอกจากสามารถเพิ่มความพึงพอใจกับผู้ป่วยแล้วนั้น ยังสามารถลดค่าใช้จ่าย ลดจํานวนวันนอนโรงพยาบาล และสามารถเพิ่มคุณภาพในการรักษา พยาบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
conflict of interest ไม่มี กิตติกรรมประกาศ วิจัยฉบับนี้ สําเร็จลงได้ด้วยความกรุณาของ นางสาวณัฐพิมล วงษ์เชษฐา
หัวหน้าหอผู้ป่วย อายุรกรรมชาย 1 และ อาจารย์สุดคนึง ดารานิษร ที่ให้คําปรึกษา แนะนํา ตรวจแก้ไขข้อบกพร่องต่าง ๆ ช่วยเหลือติดต่อประสานงานและให้กําลังใจตลอดมา ขอกราบขอบพระคุณ
ผู้เชี่ยวชาญทุกท่านที่กรุณาให้ความอนุเคราะห์ในการตรวจแบบสอบถามและเครื่องมือที่ใช้ในการ วิจัย ครั้งนี้ให้สมบูรณ์
ขอขอบพระคุณ บุคลากรหอผู้ป่วยอายุรกรรมชาย 1
ทุกท่านที่ให้ความช่วยเหลืออย่างดีในการเก็บรวบรวมข้อมูล
และขอขอบคุณผู้ป่วยและญาติผู้ป่วยทุกท่านที่กรุณาให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีในการเก็บรวบรว มข้อมูล ซึ่งมีส่วนสําคัญทําให้วิจัยฉบับนี้สําเร็จลงได้ ขอขอบคุณนายแพทย์ฐิติพันธ์ รชตะนันทน์ เพื่อนร่วมงาน
ตลอดจนทุกท่านที่ผู้วิจัยไม่ได้กล่าวนามที่มีส่วนร่วมให้ความช่วยเหลือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ให้คําปรึกษา และให้กําลังใจสนับสนุนช่วยเหลือในการทําวิจัยฉบับนี้สําเร็จลุล่วงด้วยดี
เอกสารอ้างอิง
1.เก่งกาจ วินัยโกศล. (2556). Advanced Wound Dressing.วารสารประชุมวิชาการ ครั้งที่29 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.29:18-22.
2.วรนุช เกียรติพงษ์ถาวร. (2552). Wound care, http://www.ns.mahidol.ac.th.
3.พรพรหม เมืองแมน และ อรรถ นิติพน. (2010). Advance Surgical Wound Care Technology Dressing. เอกสารประชุมวิชาการร่วมโรงพยาบาลกรุงเทพ.
4.ศิริลักษณ์ อุปยโส. (มปป). แผลการบูรณาการ การดูแลแผล. ฟาร์มาไทม์.
5.Battersby L. Exploring best practice in the management of skin tears in older people. Nurs
Times 2009;105(16):22-6
6.Bolhuis J. Evidence-based skin tear protocol. Circle 2008; 32 : 48-52.
7.LeBlanc K, Baranoski S. Skin Tear: Stage of the Science: Consensus Statement for the
Prevention Prediction, Assessment, and Treatment of Skin Tear. Adv Skin Wound
Care. 2011;24(9) : 2-15
8.Violeta Lopez. Skin tear prevention and management among patients in the acute Aged care and rehabilitation units in the Australian Capital Territory: A best practice implementation project. Evidence-Based Healthcare 2011; 9: 429-434.
- Teacher: อังคณา บ่มเกลี้ยง
Enterostomal Therapy Nurse และหอผู้ป่วยอายุรกรรมชาย
ฝ่ายการพยาบาลคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมิทราธิราช
1. ชื่อผลงาน(Project name)
ประสิทธิผลของการใช้โพวิโดน ไอโอดีน ออยท์เม้นท์ ต่อการบรรเทาภาวะหลอดเลือดดำอักเสบจากการทำหัตการ(Effectiveness of Povidine -iodine Oinment on IntraVenous
Procedural Phlebitis)
2. คำสำคัญ(Key word)
Povidine -iodine Oinment , IntraVenous Procedural Phlebitis)
3. ภาพรวม(Overview)
ปัญหา
การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำส่วนปลายเป็นกิจกรรมของการรักษาพยาบาลที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งและขณะเดียวกัน อาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นได้จากการติดเชื้อ การแทงเข็มเพื่อให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ(invasive proceder) ที่พบการติดเชื้อเฉพาะที่ โดยพบว่ามีการอักเสบของผิวหนังและเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง อันส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดความทุกข์ทรมาน เจ็บปวด ต้องนอนโรงพยาบาลเป็นระยะเวลานานยิ่งขึ้น ปัญหานี้พบว่าเกิดขึ้นจริงในหน่วยงาน แต่ยังไม่มีแนวทางปฏิบัติการพยาบาลเพื่อบรรเทาภาวะหลอดเลือดดำอักเสบอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งถ้ามีการบรรเทาการอักเสบตั้งแต่แรกเริ่ม จะทำให้สามารถอุบัติการณ์ของการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ โดยนำโพวิโดน ไอโอดีน ออยเม้นท์ ซึ่งมีฤทธิ์ทำลายเชื้อแบคทีเรียอย่างมีประสิทธิ์ภาพ มาใช้บรรเทาภาวะหลอดเลือดดำอักเสบ
เป้าหมาย
- เพื่อสร้างแนวปฏิบัติการพยาบาล
- ลดภาวะแทรกซ้อน
- ลดค่าใช้จ่าย และลดระยะเวลาการนอนโรงพยาบาล
แนวทางการพัฒนา
- ประเมินภาวะหลอดเลือดดำอักเสบและสร้างแนวทางปฏิบัติการพยาบาลในการบรรเทาภาวะหลอดเลือดดำอักเสบจากการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำส่วนปลาย
4. สาระสำคัญของการพัฒนา(Improvement Highlight)
เป็นการสร้างแนวปฏิบัติการพยาบาลในการบรรเทาภาวะหลอดเลือดดำอักเสบจากการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำส่วนปลาย โดยการวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาจากประสบการณ์ในการปฏิบัติงานจริงและนำประสิทธิผลของการปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้ โพวิโดน ไอโอดีน ออยเม้นท์ ต่อการบรรเทาภาวะหลอดเลือดดำอักเสบ และนำข้อมูลไปเสนอแนะเชิงนโยบายต่อผู้บริหาร แพทย์ พยาบาลผู้เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปใช้ในการดูแลผู้ป่วยอย่างมีประสิทธิภาพ
5.
ผลลัพธ์(Results)
(ก่อนใช้โพวิโดน ไอโอดีน ออยเม้นท์) (หลังใช้โพวิโดน ไอโอดีน ออยเม้นท์)
![]() |
ตารางที่ 1
จำนวนและร้อยละของกลุ่มตัวอย่างจำแนกตาม อายุ ระดับการศึกษา โรคประจำตัว
กลุ่มตัวอย่าง |
กลุ่มทดลอง (n=18 คน) |
กลุ่มควบคุม (n=18 คน) |
p-value |
||
|
จำนวน (คน) |
ร้อยละ |
จำนวน (คน) |
ร้อยละ |
|
อายุ (ปี) |
( |
( |
.465ก |
||
31-40 |
1 |
5.5 |
2 |
11.1 |
|
41-50 |
3 |
1 16.7 |
3 |
16.7 |
|
51-60 |
4 |
1 22.2 |
3 |
16.7 |
|
61-70 |
1 |
5 5.5 |
1 |
5.5 |
|
71-80 81-90 91-100 |
5 2 2 |
1 27.8 111.1 111.1 |
6 1 2 |
33.3 5.5 11.1 |
|
ระดับการศึกษา |
|
|
|
|
.374ก |
ประถมศึกษา |
10 |
55.6 |
10 |
55.6 |
|
มัธยมศึกษา |
6 |
3 33.3 |
5 |
27.8 |
|
ปริญญาตรี |
2 |
1 11.1 |
3 |
16.7 |
|
โรคประจำตัว |
|
|
|
|
1.00ข |
มี |
15 |
83.3 |
15 |
83.3 |
|
ไม่มี |
3 |
16.7 |
3 |
16.7 |
|
ก = chi-square ข = Fisher exact probability test
ส่วนที่ 2 ข้อมูลเปรียบเทียบคะแนนการหายของภาวะหลอดเลือดดำอักเสบระหว่างกลุ่มที่ใช้
โพวิโดน ไอโอดีน ออยเมนท์ และกลุ่มที่ไม่ใช้โพวิโดน ไอโอดีน ออยเมนท์
กลุ่มทดลองก่อนได้รับโพวิโดน ไอโอดีน ออยเมนท์ อยู่ในระดับ 1-3 และหลังได้รับโพวิโดน ไอโอดีน ออยเมนท์ อยู่ในระดับ 0 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p < 0.05
กลุ่มควบคุมมีภาวะหลอดเลือดดำอักเสบระดับอยู่ในระดับ 1-3 หลังได้รับการพยาบาล
ตามปกติภาวะหลอดเลือดดำอักเสบอยู่ในระดับ 1
การหายของภาวะหลอดเลือดดำอักเสบในผู้ป่วยที่ได้รับโพวิโดน ไอโอดีน ออยเมนท์อยู่
ในระยะเวลา 2-4 วัน ขณะที่ผู้ป่วยที่ได้รับการพยาบาลตามปกติการหายของภาวะหลอดเลือดดำ
อักเสบอยู่ในระยะเวลา 3-14 วัน
6. บทเรียนเพื่อการแบ่งปัน(Lesson Learnt)
- จากการศึกษาประสิทธิผลของการปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้โพวิโดน ไอโอดีน ออยเม้นท์ ต่อการบรรเทาภาวะหลอดเลือดดำอักเสบ พบว่าระดับการอักเสบของหลอดเลือดดำลดลง ภายใน 24 ชั่วโมงหลังการใช้โพวิโดน ไอโอดีน ออยเม้นท์
- องค์กรและสังคมจะได้รับประโยชน์จากการศึกษา วิเคราะห์ และสามารถนำไปเป็นข้อมูลในการเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อพัฒนามาตราฐานในการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะหลอดเลือดดำอักเสบ และนำเป็นข้อมูลพื้นฐานเชื่อถือได้
7. การติดต่อกับทีมงาน(Contract Information)
- ชื่อหน่วยงาน : คุณคู่ขวัญ มาลีวงษ์ หอผู้ป่วยอายุรกรรมชาย1 Enterostomal thrapy Nurse Team ฝ่ายการพยาบาล คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช โทร 3492
- Email : kukwan22@hotmail.com
- Teacher: อังคณา บ่มเกลี้ยง
- Teacher: อังคณา บ่มเกลี้ยง
- Teacher: รวิสุดา ปาเส
ชื่อโครงการ QR code
หน่วยงานที่รับผิดชอบ หอผู้ป่วยเพชรรัตน์ 12 B
ปีงบประมาณ ปีงบประมาณ พ.ศ.2561
หลักการและเหตุผล
ในโลกยุคปัจจุบันที่เทคโนโลยีมีความก้าวหน้าและพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ทำให้ชีวิตประจำวันของมนุษย์ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีในการใช้ชีวิตประจำวันอยู่เสมอ ไม่ว่าจะดำเนินกิจกรรมใดๆ ก็ตามมักจะมีเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้อง โดยไม่มีข้อจำกัดด้านสถานที่และเวลาทำให้มีความสะดวกในเรื่องการติดต่อสื่อสารระหว่างกันของมนุษย์ให้เป็นเรื่องที่ง่ายดายขึ้น ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดเวลาไหนเราก็จะสามารถที่จะหาข้อมูลและข่าวสารที่เกิดขึ้นในสถานที่ต่าง ๆ ทั่วโลกได้อย่างทันที เทคโนโลยีของมนุษย์ที่เห็นได้ชัดเจนคือการติดต่อสื่อสารและการค้นหาข้อมูลผ่านโทรศัพท์มือถือหรือสมาร์ทโฟนเพราะคนส่วนใหญ่ต่างก็ใช้โทรศัพท์มือถือในการติดต่อสื่อสารไม่ว่าจะไปไหนทุกคนก็จะต้องนำโทรศัพท์มือถือติดตัวไปด้วยตลอดเวลา นอกจากนี้การใช้อินเตอร์เน็ตบนโทรศัพท์มือถือยังสามารถทำให้เข้าถึงเว็บไซต์และบริการต่างๆ ผ่านทางแอพพลิเคชั่นได้มากมาย ทำให้ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ข้าพเจ้าจึงคิดนำเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าในปัจจุบันนี้มาประยุกต์ใช้ในการศึกษาเกี่ยวกับการเก็บข้อมูล ขั้นตอนและวิธีใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์ต่างๆที่ใช้ในหอผู้ป่วยเพชรรัตน์12 B เช่น การต่อ set เครื่อง Ventilator การใช้เครื่อง Defibrillator เป็นต้น โดยการใช้ QR code จัดเก็บที่อยู่เว็บไซต์เนื่องจากความง่ายและสะดวกต่อการใช้งานโดยผู้ที่สนใจก็ส่อง QR code ด้วยกล้องบนสมาร์ทโฟนก็สามารถเข้าถึงเว็บไซต์ดังกล่าวได้ทันทีโดยไม่ต้องเสียเวลาพิมพ์ และรวดเร็วที่จะศึกษาเรื่องนั้นๆ
วัตถุประสงค์
1. เพื่อเป็นแนวทางรูปแบบใหม่ในการศึกษาและให้ข้อมูลเกี่ยวกับการต่อ set ventilator การใช้เครื่อง defibrillator และวิธีการใช้เครื่องมือทางการแพทย์อื่นๆ
2. เพื่อพัฒนาบุคลากรในหอผู้ป่วยเพชรรัตน์ 12 B และบุคคลที่สนใจให้มีความรู้ ความเข้าใจ ใน
หลักการ ใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์ต่างๆในหอผู้ป่วยเพชรรัตน์ 12 B
3. เพื่อความสะดวก รวดเร็วต่อการใช้งาน
3. เป้าหมาย
บุคลากรในหอผู้ป่วยเพชรรัตน์ 12 B และบุคคลที่สนใจศึกษาเกี่ยวกับอุปกรณ์ทางการแพทย์ต่างๆสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย สะดวกและรวดเร็วจากการนำ QR code ไปใช้งาน
4. ตัวชี้วัด
สามารถนำ QR code ไปใช้ได้จริงในการศึกษาเกี่ยวกับวิธีการใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์ต่างๆ และบุคลากรในหอผู้ป่วยเพชรรัตน์ 12 B และบุคคลที่สนใจ มีความพึงพอใจจากการใช้งาน > 85 %
5. ลักษณะของโครงการ
เป็นการนำเทคโนโลยี QR code มาประยุกต์ใช้เพื่อความสะดวก รวดเร็วและง่ายต่อการศึกษาขั้นตอนและวิธีการใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์ต่างๆในหอผู้ป่วยเพชรรัตน์ 12 B
6. แนวทางดำเดินงาน
1.ถ่ายคลิปวีดีโอการใช้งานอุปกรณ์ทางการแพทย์ต่างๆ และขั้นตอนการต่อ set Ventilator โดยมีผู้เชี่ยวชาญให้ความรู้ในวีดีโอนั้นๆ
2. นำคลิปวีดีโอมาตัดต่ออัพโหลดไฟล์เป็น QR Code โดยมีขั้นตอนดังนี้
3.
ตัวอย่าง
QR Code
ที่ได้จากการนำคลิปวีดีโอไปตัดต่อและอัพโหลด ได้แก่ QR
Code การใช้เครื่อง Defibrillator
7. ค่าใช้จ่ายของโครงการ
ไม่มีค่าใช้จ่าย
8. ทรัพยากรที่ใช้โครงการ
อุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์ที่ใช้ในหอผู้ป่วยเพชรรัตน์ 12 B
9. ปัญหาและอุปสรรค
ต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับการทำ QR Code และผู้ที่มีความชำชาญในการใช้เครื่องมือทางการแพทย์เพื่อจัดทำคลิปวีดีโอที่ใช้ในการศึกษา
10. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. บุคลากรในหอผู้ป่วยเพชรรัตน์ 12 B พึงพอใจการใช้ QR Code เพื่อศึกษาวิธีการใช้งานเครื่องมือทางการแพทย์ที่ใช้ในหอผู้ป่วยเพชรรัตน์ 12 B
2. บุคลากรในหอผู้ป่วยเพชรรัตน์ 12 B มีความรู้ ความเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับวิธีการใช้เครื่องมือทางการแพทย์ที่ใช้ในหอผู้ป่วยเพชรรัตน์ 12 B ผ่านทาง QR Code
3. มีความสะดวก รวดเร็วในการใช้ QR Code เพื่อศึกษาวิธีการใช้เครื่องมือทางการแพทย์ที่ใช้ในหอผู้ป่วยเพชรรัตน์ 12 B
11. การติดตามประเมินผล
บุคลากรในหอผู้ป่วยเพชรรัตน์ 12 B และบุคคลที่สนใจนำ QR code นำไปใช้ได้จริงและมี
ความพึงพอใจจากการใช้งาน > 85 %
12. ข้อเสนอแนะ
1.ควรมีคู่มือที่บอกวิธีการใช้QR Codeโดยละเอียดแปะไว้บริเวณเดียวกับQR Code
2. QR Code มีข้อจำกัดใช้ได้เฉพาะกับแท็บเล็ต สมาร์ทโฟนหรือโทรศัพท์มือถือที่มี QR Codeในตัวเครื่องได้เท่านั้น
(ลงชื่อ)................................................... ผู้เสนอโครงการ
นางสาว นฤมล เพชรมี
พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ
(ลงชื่อ)................................................... ผู้เสนอโครงการ
นางสาว พรรณิกา กล่อมน้อย
พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ
(ลงชื่อ).................................................. ผู้อนุมัติโครงการ
นางสาวทัศนีย์ ทองมาก
พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
หัวหน้างานการพยาบาลอายุรกรรม
ภาคผนวก
แบบประเมินความพึงพอใจการใช้ QR Code
|
ระดับความพึงพอใจ |
||||
มากที่สุด ( 5 ) |
มาก ( 4 ) |
ปานกลาง ( 3 ) |
น้อย ( 2 ) |
น้อยที่สุด ( 1 ) |
|
1. ด้านข้อมูล |
|
|
|
|
|
1.1 ข้อมูลมีความถูกต้อง ชัดเจน และตรงตามเป้าหมาย |
|
|
|
|
|
1.2 ข้อมูลมีความครบถ้วนตามที่ต้องการ |
|
|
|
|
|
1.3 ข้อมูลนำไปใช้ประโยชน์ได้ |
|
|
|
|
|
2. ด้านการนำเสนอ |
|
|
|
|
|
2.1 ตัว QR Code สแกนได้ชัดเจน |
|
|
|
|
|
2.2 มีการจัดหมวดหมู่ข้อมูล |
|
|
|
|
|
2.3 มีการนำเสนอข้อมูลที่ทันสมัย และเข้าถึงง่าย |
|
|
|
|
|
2.4 ความน่าสนใจของเนื้อหา |
|
|
|
|
|
3. ด้านการนำไปใช้ |
|
|
|
|
|
3.1 มีความสะดวกในการใช้งาน |
|
|
|
|
|
3.2 สามารถนำไปใช้งานได้จริง |
|
|
|
|
|
- Teacher: อังคณา บ่มเกลี้ยง